วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สมบัติทางกายภาพและทางเคมีของตัวเอง

ทางกายภาพคือ
1.แขน
2.ตา
3.จมูก
4.ปาก
5.ฟัน
6.ลิ้น
7.มือ
8.เท้า
9.เล็บ
10.หู

ทางเคมี คือ
1.ผมเมื่อไหม้แล้วจะมีกลิ่นเหม็น
2.ตามตัวถ้าโดนของมีคมบาด จะมีเลือดออก
3.เมื่อมีอะไรเข้าไปในตา ตา จะเป็นสีแดง
4.ลิ้นเมื่อทานอาหารจะรับรู้รสชาติว่าเป็นอย่างไร

Alice-in-Wonderland

ข้อคิด: สามารถแก้ไขสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้นกับตัวเองได้

วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ทำไมองค์การสหประชาชาติจึงจัดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลก

จากการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ(UN) สมัยสามัญครั้งที่ ๕๔ ในวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบที่จะประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลของสหประชาชาติ หรือวันสำคัญของโลกอีกวันหนึ่ง โดยเป็นการเสนอของประเทศศรีลังกา เนื่องจากเห็นว่า วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญ ทางพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก เพราะเป็นวันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพพาน ทั้งนี้เพราะ “สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอนมวลมนุษย์ ให้มีเมตตาธรรม และขันติธรรม ต่อมวลมนุษย์ด้วยกันเพื่อให้เกิดสันติสุขในสังคม” ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับสหประชาชาติ*International Buddhist Conference*

ชีวิต คือ

ชีวิต คือ การหายใจ ชีวิตใช้การหายใจเป็นหลัก ถ้าหากชีวิตไม่หายใจก็จะไม่สามารถอยู่ได้ ชีวิตก็เหมือนการเรียนหนังสือซึ่งต้องศึกษาค้นคว้าอยู่เสมอเพื่อที่จะต้องพัฒนาอยู่ไปในอีกวันข้างหน้าหรือบางคนอาจจะเปรียบเหมือนนิทานตอนหนึ่งที่กำลังเดินทางไปเรื่อยๆของมันแล้วก็มีจุดจบด้วยการหมดลมหายใจ

วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ทำไมน้ำถึงเป็นรูปทรงที่เรียกว่าหยด

เพราะว่า เมื่อเราหยดน้ำลงมาน้ำจะมีแรงตึงผิวและทำให้น้ำเกิดรูปทรงที่เรียกว่าหยด

ถ้าโลกนี้ไม่มีดวงอาทิตย์จะเกิดอะไรขึ้น

เราก็จะดำรงชีวิตได้ยาก เพราะว่าไม่มีแสงสว่าง และเราก็จะอยู่ในอากาศที่หนาวเย็นปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง ซึ่งไม่ดีกับชีวิตและการดำรงชีวิตประจำวัน

ชีววิทยา คือ

ชีววิทยาคือ ชีววิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เป็นความรู้และส่วนที่เป็นความรู้ และส่วนที่เป็นกระบวนการค้นหาความรู้ ชีววิทยา มาจากคำว่า ชีว (biis ภาษากรีก แปลว่า ชีวิต) และวิทยา (logos ภาษากรีก แปลว่า ความคิดและเหตุผลในศาสตร์สาขาสาขาหนึ่ง) เนืองจากสิ่งมีชีวิตมีอยู่จำนวนมาก และมีความหลากหลายทั้งชีวิตและจำนวน มีการกระจายตัวอยู่ตามที่ต่างๆทั่วโลก ชีววิทยาจึงแยกออกเป็นสาขาย่อยได้หลายแขนง นักวิชาการบางคนจัดจำแนกสาขาวิชาย่อยๆ โดยยึดประเภทหรือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตจึงอาจแบ่งเป็นสัตว์วิทยา (zoology)พฤกษศาสตร์ (botany)จุลชีววิทยา(microbiology)ซึ้งในแต่ละแขนงก็อาจแยกรายละเอียดออกไปตามกลุ่มย่อยของสิ่งมีชีวิตอีก เช่น สัตววิทยา แยกเป็น กีฎวิทยา (entomology:ศึกษาแมลง)ปรสิตวิทยา(parasitology:ศึกษาปรสิต)เป็นต้น

เคมี คือ

เคมี คือศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับสสาร ความสามารถของสสาร การแปรรูปของสสาร และการปฏิสัมพันธ์กับพลังงานและสสารด้วยกันเอง เนื่องจากความหลากหลายของสสาร ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของอะตอม นักเคมีจึงมักศึกษาโครงสร้าง คุณสมบัติ และการจัดเรียงอะตอมเพื่อรวมตัวกันเป็นโมเลกุล เช่น แก๊ส โลหะ หรือผลึกคริสตัล เคมีปัจจุบันได้ระบุว่าโครงสร้างของสสารในระดับอะตอมนั้นถือเป็นตัวกำหนดธรรมชาติของสสารทุกชนิด

Physics

ฟิสิกส์ (Physics) เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่ศึกษาธรรมชาติของสิ่งไม่มีชีวิต ซึ่งได้แก่ การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา การค้นคว้าหาความรู้ทางฟิสิกส์ทำได้โดยการสังเกต การทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อสรุปเป็นทฤษฎี หลักการหรือกฎ ความรู้เหล่านี้สามารถนำไปใช้อธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติหรือทำนายสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และความรู้นี้สามารถนำไปใช้เป็นพื้นฐานในการแสวงหาความรู้ใหม่เพิ่มเติมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์

ฟิสิกส์คือ

ความอยากรู้อยากเห็นและความช่างสังเกตเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งก่อให้เกิดการศึกษา ธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเราตั้งแต่อดีตเป็นต้นมาด้วยวิธีการต่างๆ ธรรมชาติเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุด และเป็นสิ่งที่น่าสนใจ และน่าเรียนรู้สำหรับทุกคน โดยเฉพาะในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เรื่องเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เรียกว่า ฟิสิกส์

วิทยาศาสตร์ คือ

วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว